รักษ์สุขภาพ - ตอนที่ 19 โภชนศาสตร์สมัยใหม่ (10)

    • วิตามิน B9 (Folate) ได้จากผักใบเขียว (Green leafy vegetables) สดๆ, ถั่วทั้งเปลือกอ่อน (Pea) และเปลือกแข็ง (Nut), เมล็ดพืช, ผลไม้, และเนื้อสัตว์ โดยร่างกายใช้วิตามินนี้ เป็นส่วนของเอนไซม์ (Enzyme) ที่จำเป็นต่อการเผาผลาญ (Metabolism) และการทำงาน (Function) ของเซลล์ในการสร้างเม็ดเลือดแดง (Red blood) โดยมีบทบาท (Role) สำคัญในการช่วยสังเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA = Deoxyribonucleic acidซึ่งเป็นสารพันธุกรรม (Genetics) ที่ถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิต (Living things) ไปสู่รุ่น (Generation) ต่อๆ ไป
    • วิตามิน B12 (Cobalamin) ได้จากเนื้อสัตว์ปีก (Poultry), ปลาและอาหารทะเลอื่นๆ, ไข่ (Egg), นมวัว, และอาหารหมักดอง (Pickled) ที่มีแบคทีเรียตัวเป็นๆ ที่สร้างวิตามิน B12 ซึ่งไม่มีในอาหารพืช ผู้กินอาหารมังสวิรัติ (Vegetarian) อย่างเคร่งครัด จึงควรทดแทน (Substitute) วิตามินนี้ ด้วยการกินวิตามินชนิดเม็ดเสริม (Supplementary) โดยร่างกายใช้วิตามินนี้ เป็นส่วนของเอนไซม์ ที่จำเป็นต่อการเผาผลาญ และการทำงาน (Function) ของเซลล์ในระบบประสาท (Nervous system) และเม็ดเลือด หากปราศจากวิตามินนี้ จะทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับโลหิตจาง (Anemia), และโรคหลอดเลือด (Vascular) ซึ่งเป็นผลจากการคั่ง (Congestion) ของสารโฮโมซิสเทอีน (Homocysteine) ที่หมุนเวียนกลับไปใช้งานใหม่ (Recycle) [ปัจจุบันนี้ การตรวจระดับสารโฮโมซิสเทอีนในเลือดถือเป็นค่าเลือดบ่งชี้ตัวสำคัญ (Marker) ของการพยากรณ์ (Prognosis) ความเสี่ยง (Risk) ต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular) รวมไปถึงโรคเรื้อรัง (Chronic) ต่างๆ ได้มากมาย]
    • วิตามิน C (Ascorbic acid) ได้จากพืชผักและผลไม้ เช่น กะหล่ำ (Cauliflower), พริก (Chillie), มะเขือเทศ (Tomato), มันฝรั่ง (Potato), แคนตาลูป (Cantaloup) , สตรอเบอรี่ (Strawberry), มะละกอ (Papaya), มะม่วง (Mango), และกีวี (Kiwi) โดยไม่มีในเนื้อสัตว์ (Meat) โดยร่างกายใช้วิตามินนี้ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ที่จำเป็นต่อการเผาเผลาญโปรตีน ช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (Immunity) และดูดซึม(Absorb) ธาตุเหล็ก (Iron) เข้าสู่ร่างกาย

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวิตามิน 

  1. เข้าใจผิดคิดว่าพืชมีวิตามินไม่ครบ แต่ความจริงแล้ว พืช (Plant) เป็นแหล่งรวมวิตามินและแร่ธาตุ (Mineral) ที่ร่างกายต้องการอย่างครบถ้วน (Complete) และมากกว่าเนื้อสัตว์ (Meat) ตัวอย่างเช่น วิตามิน C มีเฉพาะในพืชเท่านั้น ไม่มีในเนื้อสัตว์เลย ในขณะที่วิตามิน B12 ผลิตโดยแบคทีเรียซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว (Single) เมื่อสัตว์กินแบคทีเรียเหล่านี้เข้าไปในร่างกาย มันก็สามารถเก็บไว้ (Store) ในตัวได้ ส่วนมนุษย์กินพืชเข้าไปแล้ว สามารถหมัก (Ferment) อาหารเพื่อให้เกิดแบคทีเรียเหล่านี้ได้ งานวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุ (Elderly) ไม่ว่าจะกินอาหารรูปแบบ (Form) ไหน และคนช่วงอายุ (Age range) ใดก็ตาม ที่กินอาหารมังสวิรัติ (Vegetarian) มักระดับวิตามิน B12 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (Average) ดังนั้น วงการแพทย์จึงแนะนำให้ผู้สูงอายุและผู้กินอาหารมังสวิรัติ ให้เข้มงวด (Strict) กับการกินวิตามิน B12 เสริมด้วยในรูปแบบใดๆ ก็ได้

แหล่งข้อมูล 

  1. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. และ พญ. ดร. พิจิกา วัชราภิชาต (2566). Healthy Life Bible คัมภีร์สุขภาพดี: สุขภาพดีได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท ฟรีมาย์ พับลิชชิ่ง จำกัด.